โครงการ"กระจูดบ้านฉัน" เป็นหลักสูตรท้องถิ่นที่ทางโรงบ้านเนินธัมมังได้เปิดสอนขึ้นให้กับเด็กๆในโรงเรียน เพื่อให้เด็กๆสามารถหารายได้ช่วยเหลือผู้ปกครองได้ในระหว่างที่กำลังเรียนอยู่ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มทักษะชีวิตให้เด็กๆ และคุณภาพชีวิตที่เหมาะสมไปตามช่วงวัยอีกด้วย
พ.ย. 2561
ยอดบริจาค
โรงเรียนบ้านเนินธัมมัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย
เด็กนักเรียนระดับชั้นอนุบาล จนถึงระดับประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 71 คน ในโรงเรียนบ้านเนินธัมมัง
01 สิงหาคม 2562 – 31 ตุลาคม 2563
31 มีนาคม 2564
โรงเรียนบ้านเนินธัมมังเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก มีนักเรียนทั้งหมด 71 คน เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล จนถึงระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ตั้งอยู่ในพื้นที่ศูนย์ศิลปาชีพ ซึ่งมีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นผู้ปกครองของเด็กๆ ในโรงเรียน เด็กๆเหล่านี้จะได้เห็นวิถีชีวิตของผู้ปกครองตั้งแต่เล็กจนโต แต่ไม่ได้ให้ความสำคัญต่ออาชีพผู้ปกครอง ทางโรงเรียนจึงได้เปิดสอนหลักสูตรท้องถิ่น "กระจูดบ้านฉัน" ขึ้น โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการฝึกปฏิบัติจริงอย่างต่อเนื่อง จนนักเรียนในโครงการสามารถหารายได้ช่วยครอบครัวในระหว่างเรียนได้
เนื่องจากโรงเรียนต้องการต่อยอดสินค้าให้มีมูลค่าเพิ่ม มีความหลากหลาย เป็นที่ต้องการและตัวเลือกให้กับผู้ที่สนใจ จึงมีแผนในการพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์ บูรณาการกับการเรียนการสอน และการใช้เวลาว่างของเด็กนักเรียน เนื่องจากโรงเรียนยังขาดวัสดุและอุปกรณ์ในการผลิตที่ได้คุณภาพ และเพียงพอต่อการใช้งาน จึงมีความจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อเพิ่มทักษะชีวิตให้เด็กๆ และสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี รวมถึงการส่งเสริมให้ผู้ปกครอง เด็ก และเยาวชนในชุมชนได้มีรายได้เสริม
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นักเรียนและเยาวชนในชุมชน มีทักษะการทอผ้าและแปรรูปกระจูดและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
2. เพื่อให้ผู้ปกครอง นักเรียนและเยาวชนมีรายได้เสริม
3. เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้สืบทอดและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ขั้นตอนการดำเนินงาน
ลำดับ | กิจกรรม | ระยะเวลา |
1 | ประชุมครูและผู้เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความเข้าใจและกำหนดรูปแบบและแนวปฏิบัติ | สิงหาคม 2562 |
2 | นำเสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ | สิงหาคม 2562 |
3 | วางแผนร่วมกับคณะครู กรรมสถานศึกษาและผู้ปกครอง เพื่อจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ | กันยายน 2562 |
4 |
ดำเนินโครงการ |
ตลอดปีการศึกษา |
5 | ประชุมการประเมินผล และรายงานผลการจัดกิจกรรม | ภาคเรียนละครั้ง หรือเมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรม |
วิธีการติดตามและประเมิณผล
ลำดับ | ตัวชี้วัดความสำเร็จ | วิธีการวัดประเมินผล | เครื่องมือ |
1 | 90 % ของเด็กนักเรียนมีทักษะด้านการทอผ้า และแปรรูปกระจูด |
ตรวจเอกสาร | แบบสอบถาม หรือรายงานผลการดำเนินงานจากโรงเรียน |
2 | โรงเรียนมีศักยภาพในการดำเนินการได้อย่างยั่งยืน | สนทนากลุ่ม | สนทนากลุ่ม |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. สมาชิกในโครงการรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
2. สมาชิกในโครงการทุกคนสามารถแปรรูปผลิตภัณฑ์ได้
3. สามารถสร้างรายได้เสริมเพื่อช่วยเหลือครอบครัวให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น
4. ได้มีส่วนในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาด้านการทอผ้า และกระจูด ให้สีบทอดไปยังเยาวชนรุ่นต่อ ๆ ไป
งบประมาณในการดำเนินการ
ลำดับ | รายการ | จำนวน | หน่วย | ราคาต่อหน่วย | รวม |
1 | กี่พร้อมอุปกรณ์ | 2 | ชุด | 10,000 | 20,000 |
2 | เส้นไหมประดิษฐ์ | 5 | หมอน | 1,600 | 8,000 |
3 | กระจูด | 100 | กำ | 60 | 6,000 |
4 | ผ้ากุ้น | 25 | หลอด | 120 | 3,000 |
5 | ด้ายวีนัส | 20 | โหล | 110 | 2,200 |
6 | ตัวหนีบพร้อมตาไก่ | 1 | ชุด | 2,800 | 2,800 |
รวมวัสดุอุปกรณ์ | 42,000 | ||||
Support Cost | 4,200 | ||||
ค่าบริหรจัดการระดมทุน | 2,100 | ||||
รวม | 48,300 |
แสดงความคิดเห็น