“หนูอยากอิ่มท้อง มีพร้อมด้วยโภชนาการ” เด็กๆโรงเรียนบ้านเขาน้อยมีอาหารกลางวันเป็นมื้อหลัก ซึ่งมีเพียงแกงถุงตามแต่พอจะหาซื้อได้ เกิดปัญหาด้านสุขภาพไม่พร้อมต่อการเรียนรู้ โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน จึงเป็นโครงการพัฒนาพื้นที่โรงเรียนอย่างยั่งยืน “ขอวอนพี่ๆผู้ใจดีให้เด็กๆอิ่มท้องด้วยค่ะ”
ต.ค. 2560
ยอดบริจาค
โรงเรียนบ้านเขาน้อย ต.คลองน้อย อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช
มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย
เด็กนักเรียนระดับชั้นอนุบาล – ประถมศึกษาปีที่ 6 63 คน ครูและผู้ใหญ่ 200 คน
01 พฤษภาคม 2562 – 31 ตุลาคม 2563
31 มีนาคม 2564
“หนูอยากอิ่มท้อง มีพร้อมด้วยโภชนาการ” เด็กๆโรงเรียนบ้านเขาน้อยมีอาหารกลางวันเป็นมื้อหลัก ซึ่งมีเพียงแกงถุงตามแต่พอจะหาซื้อได้ เกิดปัญหาด้านสุขภาพไม่พร้อมต่อการเรียนรู้ โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน จึงเป็นโครงการพัฒนาพื้นที่โรงเรียนอย่างยั่งยืน “ขอวอนพี่ๆผู้ใจดีให้เด็กๆอิ่มท้องด้วยค่ะ”
ที่มา/ความสำคัญโครงการ :
โรงเรียนบ้านเขาน้อยเป็นโรงเรียนที่เปิดทำการเรียนการสอนในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตั้งอยู่ หมู่ที่ 16 ตำบลคลองน้อย อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นพื้นที่ชนบท ผู้ปกครองมีฐานะยากจนและขาดแคลน นักเรียนส่วนใหญ่มีภาวะทางโภชนาการไม่ได้มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข อีกทั้งโรงเรียนไม่มีวัตถุดิบที่จะมาประกอบอาหารให้เด็กนักเรียนรับประทานเป็นอาหารกลางวัน จึงต้องซื้อแกงจากท้องตลาดมาให้เด็ก ซึ่งบางวันก็ได้อาหารที่ไม่ครบตาหลักโภชนาการ อีกทั้งโรงเรียนมีความมุ่งหวังจะส่งเสริมโภชนาการให้แก่นักเรียน ปลูกฝังการดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้วิถีการปฎิบัติจากการทำเกษตร สภาพปัจจุบันปัญหาคือ โรงเรียนยังขาดงบประมาณสนับสนุน ขาดแคลนวัตถุดิบที่ สดสะอาด ปลอดภัยและมีคุณค่าทางโภชนาการ ปัญหาดังกล่าวส่งผลให้เด็กนักเรียนในโรงเรียนมีปัญหาเด็กเสี่ยงขาดสารอาหารจำนวน 12 คน เด็กน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ 8 คนและส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ 9 คน รวมเด็กที่มีปัญหาด้านสุขภาพและโภชนาการจำนวน 29 คนหรือคิดเป็น 46 % จากเด็กนักเรียนในโรงเรียนทั้งหมด 63 คน และมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้น
จากปัญหาดังกล่าวส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่สมวัยของเด็ก หากทางโรงเรียนได้รับการสนับสนุนโครงการเกษตรอาหารกลางวัน จะช่วยให้นักเรียนได้บริโภคอาหารสด สะอาด ปลอดสารเคมี มีคุณค่าทางโภชนาการ เด็กมีสุขภาพที่ดี และเพิ่มโอกาสในการพัฒนาทักษะด้านเกษตรแก่เด็กที่สามารถบูรณาการกับแผนการเรียนการสอนของทางโรงเรียนได้อีกด้วย
แผนดำเนินการต่อ
1. ผลผลิต ที่ได้แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ทำอาหารกลางวันสำหรับเด็ก และจำหน่ายแก่ผู้ปกครอง และชุมชน พร้อมทั้งนำไปฝากขายร้านค้าในชุมชน
2. รายได้จากการขายผลผลิต นำไปซื้อเมล็ดพันธ์ผักเพิ่มเพื่อนำมาปลูกหมุนเวียน ต่อไป และจัดสรรเป็นทุนอาหารกลางวันให้แก่เด็ก
3. แจกเมล็ดพันธุ์ผัก ให้กับนักเรียนที่มีความต้องการนำไปปลูกเพื่อบริโภคในครัวเรือน
ผลประโยชน์ที่ได้รับจากแผนดำเนินการต่อ
1.เด็กได้รับอาหารกลางวันที่ครบถ้วนตามโภชนาการทั้ง 5 หมู่
2.โรงเรียนมีรายได้ที่สามารถนำไปซื้อเมล็ดพันธุ์มาต่อยอดได้
มูลนิธิมีส่วนร่วมพัฒนาโครงการนี้ในด้าน
ด้านความรู้ความเข้าใจในการปลูกผัก - เพาะเห็ด : ทางมูลนิธิศุภนิมิตฯได้มีการพูดคุยร่วมกับผู้บริหารสถานศึกษา โดยอาจารย์ที่มีความรู้ด้านเกษตรจะเป็นผู้รับผิดชอบโครงการและเป็นวิทยากรหลักในการถ่ายทอดความรู้ให้กับอาจารย์และนักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 2
กิจกรรมที่จะดำเนินโครงการ :
ลำดับ |
กิจกรรม |
ระยะเวลา |
1. |
ประชุมสร้างความเข้าใจ และการวางแผนร่วมกับหุ้นส่วน |
ตุลาคม 2019 |
2. |
ดำเนินการการระดมทุน |
พฤษภาคม - กันยายน 2019 |
3. |
ดำเนินการสร้างงานเกษตร |
ตุลาคม – ตุลาคม 2020 |
4. |
จัดสรรผลผลิตเพื่ออาหารกลางวันสำหรับเด็กในโรงเรียน |
ธันวาคม 2019 |
วิธีการการติดตามและประเมินผล
ตัวชีวัดความสำเร็จ |
วิธีการวัดประเมินผล |
เครื่องมือ |
1.การปฏิบัติงาน |
รายงานความก้าวหน้าของงาน |
แบบบันทึกความคืบหน้าการดำเนินงาน |
2.ความสำเร็จของงาน มีวัตถุดิบประกอบอาหาร |
สำรวจความต้องการจำเป็น |
แบบสำรวจ |
3.ความสำเร็จของงาน ได้รับอาหารครบ 5 หมู่ |
สังเกตุ/สำรวจพฤติกรรม |
แบบสังเกต/แบบประเมินความพึงพอใจ |
4.ความสำเร็จของงาน ภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ |
ตามเกณฑ์มาตราฐานกรมอนามัย |
เกณฑ์มาตราฐานกรมอนามัย |
5.ความสำเร็จของงาน ความรู้หลักการดำเนินชีวิตพอเพียง |
ทดสอบ/สัมภาษณ์ |
แบบทดสอบ/แบบสัมภาษณ์ |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. นักเรียนได้รับประทานอาหารดี มีประโยชน์อย่างมีคุณภาพครบ 5 หมู่
2. นักเรียนมีสุขภาพดีขึ้นตามหลักโภชนาการ ตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
3. นักเรียนดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงทำการเกษตรผสมผสานที่ถูกต้อง
4. นักเรียนได้รับประทานอาหารที่ สด สะอาด ปลอดภัย ไม่มีสารตกค้าง
5. นักเรียนได้รับทักษะ การทำการเกษตร สามารถนำกลับไปใช้ที่บ้านได้
6. นักเรียนได้ฝึกการทำบัญชีรายรับ - รายจ่าย
7. นักเรียนได้รับการฝึกการขายผลผลิต การคำนวณเงินทอน
8. สร้างลักษณะนิสัย ความรับผิดชอบ ความสามัคคี
ผู้ดำเนินงาน
1.มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย
2.โรงเรียนบ้านเขาน้อย ต.คลองน้อย อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช
งบประมาณในการดำเนินการโครงการ
Category Group |
รายการ |
รายละเอียด |
จำนวน |
หน่วย |
หน่วยละ |
รวม |
1 |
มะนาวในวงบ่อซีเมนต์ |
วงบ่อซีเมนต์ เส้นผ่าศูนย์กลาง 100 ซม. |
6 |
วง |
300 |
1,800 |
กิ่งพันธุ์มะนาว |
12 |
กิ่ง |
200 |
2,400 |
||
ดินปลูก |
72 |
ถุง |
25 |
1,800 |
||
เป็นเงิน |
|
|
|
|
6,000 |
|
2 |
ปลูกผักใช้ดิน (ยกร่องดิน)
|
เมล็ดพันธุ์คะน้า |
5 |
กระป๋อง |
100 |
500 |
เมล็ดพันธุ์ผักบุ้ง |
5 |
กิโลกรัม |
170 |
850 |
||
เมล็ดพันธ์ุแตงกวา 50 กรัม |
5 |
กระป๋อง |
350 |
1,750 |
||
เมล็ดพันธ์ุมะเขือเปราะ 20 กรัม |
5 |
กระป๋อง |
160 |
800 |
||
เมล็ดพันธ์ุมะเขือยาว 5 กรัม |
5 |
ซอง |
70 |
350 |
||
เป็นเงิน |
|
|
|
|
4,250 |
|
3 | ปลูกผักไม่ใช้ดิน | ชุดปลูกไฮโดรโปนิกส์ขนาด 300 หลุมปลูก พร้อมอุปกรณ์และพร้อมติดตั้ง | 1 | ชุด | 15,000 | 15,000 |
ปุ๋ยน้ำ | ปุ๋ยน้ำ | 9 | ขวด | 250 | 2,250 | |
เมล็ดพันธุ์ผัก | เมล็ดพันธุ์ผักกาดหอม | 10 | กระป๋อง | 36 | 360 | |
เมล็ดพันธุ์ผักกาดแก้ว | 10 | กระป๋อง | 36 | 360 | ||
เมล็ดพันธุ์ผักกวางตุ้ง | 10 | กระป๋อง | 160 | 1,600 | ||
เป็นเงิน | 19,570 | |||||
4 |
อุปกรณ์ทำการเกษตร |
จอบ |
3 |
อัน |
380 |
1,140 |
เสียมแบน |
5 |
อัน |
55 |
275 |
||
บัวรดน้ำ |
6 |
อัน |
65 |
390 |
||
ส้อมพรวน |
6 |
อัน |
35 |
210 |
||
ส้อมปลูก |
6 |
อัน |
35 |
210 |
||
ตะกร้าใหญ่ |
2 |
อัน |
240 |
480 |
||
ตะกร้าเล็ก |
2 |
อัน |
180 |
360 |
||
ถุงเพาะขนาดเล็ก |
2 |
ก.ก |
60 |
120 |
||
เครื่องชั่ง 12 กก. |
1 |
เครื่อง |
855 |
855 |
||
ถาดเพาะเมล็ด |
5 |
ถาด |
18 |
90 |
||
เครื่องปั๊มน้ำ |
1 |
ตัว |
1,500 |
1,500 |
||
กากน้ำตาล |
5 |
แกลลอน |
410 |
2,050 |
||
อีเอ็ม |
5 |
ลิตร |
200 |
1,000 |
||
เป็นเงิน |
|
|
|
|
8,680 |
|
รวมงบประมาณ |
38,500 |
|||||
งบประมาณ Support Cost |
3,850 |
|||||
ค่าบริหารจัดการระดมทุน |
1,925 |
|||||
รวมงบประมาณทั้งหมด (บาท) |
44,275 |
แสดงความคิดเห็น