ดนตรีบำบัด กลองสะบัดชัย

สำหรับเด็กพิเศษเรียนร่วมซึ่งมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ การส่งเสริมพัฒนาทักษะชีวิตจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยพัฒนา คุณภาพชีวิตของเด็ก ๆ เหล่านี้ ให้มีสมาธิในการเรียน และการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในโรงเรียน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • 05

    พ.ย. 2561

  • 7,269

ยอดบริจาค

1,000 บาท
เป้าหมาย : 64,022 บาท
  • เหลืออีก : 0 วัน

ดนตรีบำบัด กลองสะบัดชัย

สถานที่ดำเนินงาน

โรงเรียนบ้านปางไม้แดง ตำบลบ้านช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้ดำเนินการ

มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย

ผู้รับผลประโยชน์

เด็กพิเศษซึ่งมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ จำนวน 37 คน ในโรงเรียนบ้านปางไม้แดง

ระยะเวลาดำเนินการ

01 มีนาคม 2562 – 31 ตุลาคม 2563

วันสิ้นสุดการระดมทุน

31 มีนาคม 2564

รายละเอียดโครงการเพิ่มเติม

ในสังคมปัจจุบัน เด็ก เยาวชน มีค่านิยมที่ยู่คนเดียว ไม่ค่อยสนใจเพื่อนบ้าน และเด็กเหล่านี้เป็นเด็กที่ยังขาดโอกาสในการพัฒนาทักษะชีวิตในรูปแบบกลุ่มเครือข่าย ดังนั้น มูลนิธิ ฯ ร่วมกับ สถานศึกษาและผู้นำท้องถิ่น ได้เล็งถีงปัญหา เด็ก เยาวชน คนีรุ่นใหม่เป็นคนเห็นแต่แก่ตน จึงมีแนวคิดส่งเสริมให้เยาวชนในแต่ละชุนมีการรวมกลุ่มเครือข่าย มีแผนกิจกรรมร่วมกันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาทักษะชีวิต

โรงเรียนบ้านปางไม้แดงจึงได้จัดทำ "ดนตรีบำบัดกองสะบัดชัย" สำหรับเด็กพิเศษที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ขึ้นมา เพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนาทักษะชีวิต และมีกิจกรรมเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มที่ต่อเนื่อง นำไปสู่การเป็นกลุ่มเครือข่ายเยาวชนที่เป็นต้นแบบและให้เด็กทั้งใน-นอกความอุปการะมีความพร้อมในการศึกษา มีคุณภาพชีวิตที่ดี  มีจิตใจที่รักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง มีส่วนร่วมพัฒนาสังคม ต่อไป

วัตถุประสงค์ของกิจกรรมที่จะดำเนินการ

1. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ มีสมาธิในการเรียนและการทำกิจกรรมในโรงเรียนต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เพื่อส่งเสริมและสืบสานศิลปวัฒนธรรมดนตรีพื้นเมืองล้านนาให้ดำรงอยู่ต่อไป

ขั้นตอนการดำเนินงานของกิจกรรม

ลำดับ กิจกรรม ระยะเวลา
1 ศึกษานโยบายของโรงเรียน ในส่วนที่เกี่ยวข้อกับโครงการ
รวมถึงสภาพความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการ
กุมภาพันธ์ 2562
2 จัดทำโครงการนำเสนอต่อฝ่ายบริหาร และประชุมคณะทำงาน เพื่อชี้แจงโครงการ มอบหมายภาระงานและดำเนินตามโครงการ มีนาคม 2562
3 ติดตาการดำเนินงาน และรวบรวมผลการดำเนินงานแต่ละกิจกรรม ให้เป็นไปตามภาระงานที่กำหนดไว้ตามโครงการ เมษายน 2562
4 สรุปผล ประเมินผล และจัดทำรายงานโครงการ นำเสนอฝ่ายบริหาร พฤษภาคม 2562

 

วิธีการการติดตามและประเมินผล

1. แบบประเมินผลหลังการดำเนินกิจกรรม 
2. สัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายและผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จากการเข้าร่วมกิจกรรม
3. แบบสอบถาม

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เด็กนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ และ เด็กปกติในความอุปการะ และนอกอุปการะ  ได้รับผลประโยชน์จากโครงการนี้โดยตรง คิดเป็น 100% ทำให้

1. นักเรียนสามารถให้กิจกรรมดนตรีบำบัดกลองสะบัดชัยในการฝึกสมาธิได้
2. นักเรียนได้สืบสานศิลปวัฒนธรรมดนตรีพื้นเมืองล้านนาให้ดำรงอยู่ต่อไป

งบประมาณโครงการ

งบประมาณในการดำเนินการ

ลำดับ รายการ รายละเอียด จำนวน หน่วย ราคาต่อหน่วย รวม
1 ดนตรีพื้นนเมือง 1 วง - สะล้อเล็ก ไม้เกล็ด (3 ลูก) 2 คัน 1,100 2,200
- สะล้อเล็ก ไม้เกล็ด (4 ลูก) 2 คัน 1,200 2,400
- ซึงเล็ก ไม้สัก (4 ลูก) 2 ตัว 2,100 4,200
- ซึงกลาง ไม้สัก (3 ลูก) 2 ตัว 2,200 4,400
- ซึงใหญ่ ไม้สัก (4 ลูก) 1 ตัว 2,400 2,400
- กล้องโป่งโป้ง (กลองเมือง) 1 ใบ 3,500 3,500
- ขลุ่ยหลิบเมือง ไม้เกล็ดแดง 3 เลา 850 2,550
- ฉิ่งทองเหลือง (ลงหิน) 2 คู่  650 1,300
- ฉาบทองเหลือง (ลงหิน) 1 คู่ 650 650
2 ยางสะล้อ / ซอ ยางสำหรับคันชักสะล้อ / ซอ 4 ก้อน 50 200
3 กลองสะบัดชัย หน้า 25
พร้อมอุปกรณ์

กลองสะบัดชัย หน้า 25 พร้อมอุปกรณ์ตกแต่ง
และ ประกอบจังหวะ ฆ้อง 5 ใบ , ฉาบ 3 คู่

1 วง / ชุด 24,500 24,500
รวมค่าอุปกรณ์ 48,300
Support Cost 10,892
ค่าบริหารจัดการต้นทุน 4,830
รวมงบประมาณทั้งหมด 64,022

 

แสดงความคิดเห็น